หลายท่านคงสงสัยในการนำเข้าสินค้า มีวิธีการขนส่งแบบใดบ้าง เลือกแบบไหนดีถึงจะเหมาะกับสินค้าที่นำเข้ามา ค่าใช้จ่ายแพงไหม ส่งแบบไหนถึงเร็วกว่ากัน วันนี้เราจะมาแนะนำเกี่ยวกับรูปแบบ การขนส่งมีกี่ประเภท พร้อมข้อดี-ข้อเสียกัน
สำหรับการนำเข้าสินค้าจะมีกรอบเวลาที่เกี่ยวข้องกับการใช้หรือการวางตู้คอนเทนเนอร์ ทั้งช่วงเวลาในการรับและการนำตู้สินค้าออกจากสถานที่ที่กำหนดไว้ Free Time คือ ระยะเวลาที่กำหนดสำหรับข้อดังกล่าว หากตู้คอนเทนเนอร์ที่นำเข้าไม่ได้รับการหยิบและนำออกจากท่าเรือ ตู้สินค้าดังกล่าวจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นมาในส่วนของค่าธรรมเนียม
Demurrage and Detention คือ ค่าเสียเวลาหรือค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้ หากผู้รับส่งของ (Consignee) ไม่นำตู้สินค้าออกจากท่าเรือ มีการวางตู้หนักไว้เกินกว่าเวลาที่กำหนด และค่าใช้จ่ายอีกส่วนคือ การนำตู้สินค้าออกจากท่าเรือไปแล้วแต่ไม่สามารถนำมาคืนได้ การคืนล่าช้าจากที่สายเรือกำหนดไว้
เขตปลอดอากร หรือ Free Zone เป็นพื้นที่ที่หน่วยงานจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมธุรกิจการค้าและการลงทุน โดยจะไม่มีการจัดเก็บค่าภาษีและอากร
พิธีการศุลกากร หรือ Customs Clearance คือ การยื่นขออนุญาตในการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าในประเทศ โดยผ่านขั้นตอนพิธีการตรวจสอบเอกสารของกรมศุลกากรของทั้งประเทศต้นทางและปลายทาง
ใบขนสินค้า (Import Declaration) เอกสารที่ใช้ชำระภาษีเมื่อมีการนำเข้าสินค้าหรือการส่งออกสินค้าภายในประเทศ โดยจะแบ่งออกเป็น ใบขนสินค้าขาเข้าและใบขนสินค้าขาออก ซึ่งเอกสารฉบับนี้จะมีรายละเอียดของสินค้าระบุไว้ชัดเจน
Cargo คือ การขนส่งสินค้า จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ใช้ได้ทั้งการขนส่งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ โดยผ่านพาหนะประเภทต่างๆ มีการบรรจุหีบห่ออย่างเรียบร้อย
อยากนำเข้าสินค้าจากจีน หรือจะสั่งผ่านชิปปิ้ง ควรรู้ มีเอกสารนำเข้าอะไรบ้างที่จำเป็นต้องใช้ เช่น ใบขนส่งสินค้า บิลใบเสร็จ หนังสือรับรองสินค้า ใบราคา และเอกสารอื่นๆ
การส่งสินค้าทางทะเล จะใช้เรือขนส่งสินค้าโดยเฉพาะที่ถูกออกแบบมาเพื่อขนส่งสินค้าประเภทต่างๆ ซึ่งเรือบรรทุกสินค้าเหล่านี้สามารถแบ่งได้เป็น 7 ประเภทหลักๆ เพื่อใช้ในการขนส่งหรือโดยสาร
Bill of Lading คือ เอกสารในการส่งสินค้าทางทะเล / ทางเรือ หรือที่เรียกสั้นๆว่า ใบ B/L มีไว้เพื่อแสดงว่ามีการขนถ่ายสินค้าลงเรือบรรทุกเรียบร้อยแล้ว